หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
Bachelor of Science Program in Computer Science
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เกิดขึ้น อีกทั้งยังมีแนวโน้มการเปิดเศรษฐกิจเสรี ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีโครงข่ายระบบโทรคมนาคมที่ทั่วถึงและเป็นเครือข่ายที่มีเสถียรภาพ รวมไปถึงมีระบบการขนส่งและการโทรคมนาคมที่ดี แต่ก็ยังคงประสบปัญหาในด้านอื่น ๆ เช่น ปัญหาผลิตภาพการผลิต ความสามารถในการแข่งขัน คุณภาพการศึกษา ความเหลื่อมล้ำทางสังคม รวมไปถึงปัญหาทางภัยธรรมชาติ เป็นต้น ทำให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2555-2559) ยึดกรอบแนวคิดและหลักการ โดยให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ที่มียุทธศาสตร์การพัฒนาด้าน ICT ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคน พัฒนาระบบบริหารจัดการ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยสนับสนุนการทำงาน ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรม เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศอย่างยั่งยืน
ดังนั้นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในด้านคอมพิวเตอร์อย่างเพียงพอและพร้อมสำหรับการเริ่มต้นทำงาน มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศต่อไป
ข้อมูลทั่วไป
Gerneral informaion
ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
ชื่อภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Program in Computer Science
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร: ไม่น้อยกว่า 137 หน่วยกิต
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อปริญญาภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์) หรือ วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Computer Science) หรือ B.S. (Computer Science)
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษาต่อ
1.สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ที่ผ่านการคัดเลือกตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยกำหนด หรือ
2.สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ที่ผ่านการคัดเลือกตามระเบียบข้อบังคับที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือ
3.สำเร็จการศึกษาระดับระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง อนุปริญญาหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ที่่ผ่านการคัดเลือกตามระเบียบข้อบังคับที่มหาวิทยาลัยกำหนด และเทียบโอนรายวิชาตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
Career prospects
1. นักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์
2. นักวิชาการคอมพิวเตอร์
3. นักพัฒนาโปรแกรม
4. ผู้ดูแลระบบเครือข่าย
5. ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล
6. ผู้ประสานงานโครงการซอฟต์แวร์
7. นักพัฒนาเว็บไซต์
8.นักทดสอบระบบ
อาจารย์หลักสูตร วท.บ.วิทยาการคอมพิวเตอร์
Lecturer

ผู้ช่วยศาสตราจารย์/ประธานหลักสูตร
+
ผศ.ณัฐธยาน์ รุจิราธนาพัฒน์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์/ประธานหลักสูตร
วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

อาจารย์
+
อ.ดร.สุพรรณี ศิวากรณ์
อาจารย์
- Ph.D.(Computer Science) Columbia University
- M.Sc.(Computer Science) New York University
- วศ.บ.(วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยมหิดล

อาจารย์
+
อ.ชานนท์ ดวงพายัพ
อาจารย์
วท.ม.(วิทยาการคอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยรังสิต

อาจารย์
+
อ.สกุลชาย สารมาศ
อาจารย์
วท.ม.(เทคโนโลยีสารสนเทศ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง

อาจารย์
+
อ.ยศภัทร เรืองไพศาล
อาจารย์
วท.ม.(วิทยาการคอมพิวเตอร์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง

อาจารย์
+
อ.พัชร์สิตา ศิรวงศ์ภัสสรา (ลาศึกษาต่อ)
อาจารย์
- วท.ม.(เทคโนโลยีสารสนเทศ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- วท.บ.(วิทยาการคอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก