หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
Bachelor of Science in Food Science and Technology
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) เน้นเนื้อหาความรู้ปฏิบัติการกระบวนการแปรรูปอาหาร การตรวจสอบคุณภาพอาหาร และการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งเนื้อหาในรายวิชาพื้นฐานวิชาชีพจะแบ่งออกเป็นกลุ่ม (modules) ทั้งหมด 4 กลุ่ม เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษามีความสามารถสอดคล้องกับการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนในลักษณะร่วมผลิตระหว่างสถาบันอุดมศึกษา และสถานประกอบการที่ครอบคลุมทั้งกลุ่มเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร เช่น รายวิชาการแปรรูป อาหาร วิศวกรรมอาหาร การฝึกวิชาชีพ เป็นต้น กลุ่มคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร เช่น รายวิชา โภชนศาสตร์ การควบคุมและประกันคุณภาพอาหาร สุขาภิบาลและการวางผังโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ระบบความปลอดภัยอาหารและกฎหมายอาหาร จุลชีววิทยาทางอาหาร กลุ่มการพัฒนาผลิตภัณฑ์และ นวัตกรรมอาหาร เช่น รายวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมอาหาร การประเมินทางประสาทสัมผัส และการทดสอบผู้บริโภค กลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร เช่น รายวิชาโลจิสติกส์และการขนส่งอาหาร การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ นอกจากนี้ ยังมีรายวิชาเลือกที่สอดคล้องกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารของไทยขึ้นเป็นผู้ผลิตอาหารเพื่อสุขภาพและส่วนประกอบอาหารมูลค่าสูง Top 5 ของโลก เช่น รายวิชาที่เกี่ยวกับอาหารเชิงหน้าที่ อาหารเฉพาะ อาหารสำหรับผู้สูงอายุ ตลอดจนการสืบย้อนกลับของผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาบริหารจัดการด้านอุตสาหกรรม อาหารให้มีความทันสมัยตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน
ข้อมูลทั่วไป
Gerneral informaion
ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
ชื่อภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science in Food Science and Technology
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร: ไม่น้อยกว่า 138 หน่วยกิต
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อปริญญาภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) หรือ วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Food Science and Technology) หรือ B.S. (Food Science and Technology)
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษาต่อ
1.สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือเทียบเท่า หรือ
2.สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตร อาหารโภชนาการ และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน หรือเทียบเท่า
3.สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) อนุปริญญาหรือเทียบเท่า ในสาขาอุตสาหกรรมเกษตร อาหารโภชนาการ ที่ผ่านการคัดเลือกตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย หรือ
4.ผู้เทียบโอนผลการเรียน หรือเทียบโอนประสบการณ์ หรือผู้สะสมหน่วยกิตจากระบบคลังหน่วยกิต
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
Career prospects
ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีศักยภาพในการแข่งขันในการตลาดแรงงานอาเซียน ตัวอยางการประกอบอาชีพ เช่น
1.พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ปฏิบัติงานด้านการผลิต จัดซื้อ ควบคุมและประกันคุณภาพ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
2.อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน
3.ผู้ตรวจสอบระบบอาหารปลอดภัย
4.ผู้ประกอบการ/เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมอาหารหรือ เจ้าของธุรกิจอาหาร
อาจารย์หลักสูตร วท.บ.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
Lecturer

ผู้ช่วยศาสตราจารย์/ประธานหลักสูตร/หัวหน้าสาขา
+
ผศ.สุพัตรา พูลพืชชนม์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์/ประธานหลักสูตร/หัวหน้าสาขา
วท.ม.(วิทยาศาตร์การอาหาร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วท.บ.(วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์
+
ผศ.ดร.ตวงสิริ สยมภาค
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
Ph.D. (Food and Sensory Sciences) Deakin University
วท.ม. (พัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์
+
ผศ.สายใจ จริยาเอกภาส
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
วท.ม.เทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อาจารย์
+
อ.ดร.วิริยา นิตย์ธีรานนท์
อาจารย์
-
วท.ม.(อณุพันธุศาสตร์และพันธุวิศวกรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล
-
Ph.D .(FoodScience) University of Wisconsin–Madison

อาจารย์
+
อ.ดร.กรันต์ ถ้ำแก้ว
อาจารย์
Ph.D. in Engineering (Food Engineering) Lund University,Sweden
วท.ม (เทคโนโลยีการอาหาร) มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์
+
ผศ.อนันทญา แสนสวัสดิ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
วท.ม.(เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วท.บ.(เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ผู้ศาสตราจารย์ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
คำนิยม
Testimonials
อีกหนึ่งอย่างที่ประทับใจ (อันนี้ขาดไม่ได้เลย) คือ อาจารย์ที่ใส่ใจนักศึกษาทุกๆคน สอนให้เรามีความรู้ทั้งในวิชาเรียนและนอกวิชาเรียน รวมถึงประสบการณ์ที่เราอาจหาไม่ได้ในวิชาเรียน เพื่อนำมาปรับใช้อนาคต เพิ่มเติม...