หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ
Bachelor of Science Program in Culinary Technology and Service
บูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาหารและโภชนาการ ความปลอดภัยของอาหาร การจัดการ รวมทั้งศิลปะการตกแต่งอาหารและการออกแบบอาหาร (Food Designs) เพื่อตอบสนองความต้องการ EEC และประชาคมอาหารโลก ที่มีการกระจายกำลังคนสู่ภูมิภาคต่าง ๆ มีการพัฒนาและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างอัตลักษณ์สู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน
ข้อมูลทั่วไป
Gerneral informaion
ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ
ชื่อภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Program in Culinary Technology and Service
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร: ไม่น้อยกว่า 137 หน่วยกิต
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อปริญญาภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ หรือ วท.บ. (เทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Culinary Technology and Service) หรือ B.S. (Culinary Technology and Service)
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษาต่อ
1.สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทุกแผนการเรียนหรือ เทียบเท่า ที่ผ่านการคัดเลือกตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยกำหนด หรือ
2.สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตร อาหารและโภชนาการ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ที่ผ่านการคัดเลือกตามระเบียบข้อบังคับที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือ
3.สำเร็จการศึกษาระดับระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) อนุปริญญาหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตรอาหารและโภชนาการ หรือ เทียบเท่าเข้าศึกษา ที่่ผ่านการคัดเลือกตามระเบียบข้อบังคับที่มหาวิทยาลัยกำหนด และเทียบโอนรายวิชาตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
4.เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือ สูงกว่าทุกสาขาโดยการเทียบโอนรายวิชาตามหลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยฯ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
Career prospects
1. ผู้ปฏิบัติงานด้านการผลิตและการจัดบริการอาหารในสถานประกอบการอาหารต่างๆ เช่น ภัตตาคาร โรงแรม ร้านอาหาร รีสอร์ท ครัวการบิน และโรงพยาบาลฝ่ายโภชนาการ
2. ผู้จัดอาหารและจัดเลี้ยงในโรงแรม/ภัตตาคาร/ร้านอาหาร
3. ผู้ควบคุมการผลิตและควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหารและการบริการ
4. พนักงานในหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องด้านอุตสาหกรรมอาหารและการบริการ
5. ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและการบริการอาหาร
6. อาชีพอื่น ๆ เช่น นักออกแบบและตกแต่งอาหาร ผู้แทนจำหน่ายอุปกรณ์ เครื่องมือในอุตสาหกรรมบริการอาหารและโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขายสินค้าในอุตสาหกรรมบริการอาหารและโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
อาจารย์หลักสูตร วท.บ.เทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ
Lecturer

อาจารย์/หัวหน้าสาขาวิชา
+
อ.ดร.เกษมสุข เขียวทอง
อาจารย์/หัวหน้าสาขาวิชา
- ปร.ด.(สาขาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- คศ.บ.(อาหารและโภชนาการ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
- กศ.บ.(การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์
+
ผศ.ปภากร ศรีสอน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
- วท.ม.(พัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ป.บัณฑิต(ประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลโลยีการอาหาร) สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา
ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

อาจารย์
+
อ.ดร.พีรรัตน์ ดวงติ๊บ
อาจารย์


อ.ธนวันต์ พัฒนสิงห์
- คศ.ม.(อาหารและโภชนาการ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
- คศ.บ.(อุตสาหกรรมการบริการอาหาร) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์
+
ผศ.อมรรัตน์ โมราราช
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
- วท.ม. (อุตสาหกรรมการเกษตร) มหาวิทยาลัยนเรศวร
- วท.บ. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลโลยีการอาหาร) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล