เกี่ยวกับคณะ
Our History
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ในเขตพื้นที่บางพระ จังหวัดชลบุรี ที่ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2548 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 “ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ทำการสอน ทำการวิจัย ผลิตครูวิชาชีพ ให้บริการทางวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่สังคม ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญาเป็นหลัก” คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จัดอยู่ในกลุ่ม ค สถาบันเฉพาะทาง ลักษณะที่ 2(ค2) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีพันธกิจหลัก 4 ด้านตามพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และมีพันธกิจด้านการบริหารจัดการ
ข้อมูลและสถิติ
-----
วิสัยทัศน์
Major Views
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นองค์กรชั้นนำในการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติ
พันธกิจ
Our Aims
1. บริหารจัดการสู่องค์กรคุณภาพ
2. ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศ
3. พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
4. บริการวิชาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งและบริการวิชาการเพื่อสร้างรายได้
5. สืบสาน ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความเป็นไทย
ประวัติความเป็นมาของคณะ
Our Way of Success
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก มีพันธกิจหลัก 4 ด้านตามพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีพันธกิจด้านการบริหารจัดการอีกด้วย โดยแบ่งหน่วยงานภายในคณะเป็น 6 สาขาวิชา 1 ศูนย์บริการวิชาการ และสำนักงานคณบดี
คณะฯ จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี 6 หลักสูตร นอกจากนี้คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยังมีสาขาวิชาที่ให้บริการทางการศึกษา แก่นักศึกษาทั้งหมดของวิทยาเขตบางพระ ในการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์พื้นฐาน มีประวัติความเป็นมาดังนี้
ก่อตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2518 เป็นวันที่พระราชบัญญัติ “วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา” ได้ถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี ให้การศึกษาทางด้านอาชีพทั้งระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และประกาศนียบัตรชั้นสูง ทำการวิจัยส่งเสริมการศึกษาทางด้านวิชาชีพและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาได้พัฒนาระบบการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานการศึกษาที่มีคุณภาพ และศักยภาพ มีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน
เปลี่ยนแปลง สู่ "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล"
ในวันที่ 15 กันยายน 2531 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ชื่อใหม่ว่า “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล”
เติบโตสู่ "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล"
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 เพื่อปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับเดิมและยกร่างเป็นพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจ การบริหารจัดการสู่สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาของรัฐดำเนินการโดยอิสระ และมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษา ดังนั้น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548 ได้การรวมกลุ่มวิทยาเขตจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่ง

ผู้บริหาร
ทีมผู้บริหารของคณะ

คณบดี
+
รศ.ดร.สุธัญญา พรหมสมบูรณ์
คณบดี
- ปร.ด.การวิจัยทางสถิติทางวิทยาการทางปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
- วท.ม.เทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- โทรศัพท์ : 033 136099 ต่อ1331

รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ
+
อ.ดร.สุธีรา อานามวงษ์
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ
- ปร.ด.(เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- วท.ม.(เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย
+
ผศ.ดร.กรณัฏฐ์ นาคภิบาล
รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย
- ปร.ด.(วิทยาศาสตร์ชีวผลิตภัณฑ์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- วท.ม.(พฤกษศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รองคณบดีฝ่ายบริหารและแผน
+
ผศ.สินทรัพย์ นับเพชรพลอย
รองคณบดีฝ่ายบริหารและแผน
วท.ม.(คณิตศาสตร์) มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้ช่วยคณบดี
------

ผู้ช่วยคณบดีด้านประชาสัมพันธ์
+
อ.ดร.ปิยธิดา ต.ไชยสุวรรณ
ผู้ช่วยคณบดีด้านประชาสัมพันธ์
- ปร.ด. (การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา) มหาวิทยาลัยบูรพา
- วท.ม. (คณิตศาสตร์ประยุกต์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- วท.บ. (คณิตศาสตร์) มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้ช่วยคณบดีด้านกิจกรรมนักศึกษา
+
อ.ยศภัทร เรืองไพศาล
ผู้ช่วยคณบดีด้านกิจกรรมนักศึกษา
วท.ม.(วิทยาการคอมพิวเตอร์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง

ผู้ช่วยคณบดีด้านวิชาการ
+
อ.ดร.วีรยา ภูผิวคำ
ผู้ช่วยคณบดีด้านวิชาการ
ปร.ด.(ชีวเคมี) มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ช่วยคณบดีด้านวิจัย
+
ผศ.เพียงขวัญ เครือภู่
ผู้ช่วยคณบดีด้านวิจัย
- วท.ม.(ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยมหิดล
- วท.บ. (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยคณบดีด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะ
+
อ.ดร.พิรดา สุดประเสริฐ
ผู้ช่วยคณบดีด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะ
- Ph.D.(ฺBio-Applications And Systems Engineering) Tokyo University of Agriculture and Technology,Japan
- ปร.ด.(การศึกษาและการพัฒนาสังคม) มหาวิทยาลัยบูรพา
- วท.ม.(เคมี) มหาวิทยาลัยบูรพา
หลักสูตรที่เปิดสอน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 6 หลักสูตร ดังนี้

หลักสูตรผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม (วท.บ.)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และมุ่งเสริมสร้างประสบการณ์เรียนรู้ และทักษะในการวิจัยและพัฒนา การผลิต และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม

หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (วท.บ.)
เน้นผลิตกำลังคนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่พร้อมเข้าสู่สถานประกอบการ สามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประเทศ และเสริมสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการ

หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (วท.บ.)
หลักสูตรที่ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะทางเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ในยุคดิจิทัล เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมให้ตอบโจทย์ต่อความต้องการใช้งานได้อย่างถูกต้อง และเป็นมืออาชีพ

หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ (วท.บ.)
สร้างนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตเกษตร และการจัดการของเสียให้นำกลับมาใช้ประโยชน์เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพื่อพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืนบนพื้นฐานภูมิปัญญาไทย

หลักสูตรเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ (วท.บ.)
บูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาหารและโภชนาการความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งศิลปะการตกแต่งอาหารเพื่อให้เกิดความน่าสนใจและน่ารับประทาน การจัดการด้านธุรกิจ อาหารและการบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศทางด้านกำลังคน มีการพัฒนาและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสังคมที่ยังยืน

หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร (วท.บ.)
ประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ โภชนศาสตร์เข้าด้วยกัน บูรณาการเป็นองค์ความรู้ ด้านการแปรรูปอาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การควบคุมและการประกันคุณภาพ ความปลอดภัยทางอาหาร การจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตร ตลอดจนการส่งเสริมสุขภาพ
ระดับปริญญาโท
คณะวิทย์จัดการเรียนการสอนประดับปริญญาโท ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 1 หลักสูตร ดังนี้

หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร (วท.ม.)
หลักสูตรมุ่งเน้นให้มหาบัณฑิตมีความรู้ความสามารถในด้านการผลิต วิจัยและพัฒนาระบบการผลิตและสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดผลต่ออัตราการตอบแทนทางธุรกิจอย่างเหมาะสม