เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 รศ.ดร.สุธัญญา พรหมสมบูรณ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมด้วย ดร.วรีภรณ์ รัตนิสสัย หัวหน้าสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และ ดร.อนงค์นาฏ โสภณางกูร อาจารย์ประจำสาขานวัตกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม เข้าร่วมประชุมหารือเตรียมสร้างเครือข่ายความร่วมมือ CSR 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ศูนย์การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตและสหวิทยาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   บริษัท ไทย เอ็น ดี ที จำกัด (มหาชน) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ตะวันออก และองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง

เครือข่ายความปลอดภัยการฉายรังสี

เนื่องจากประเทศไทยมีอาหารและผลผลิตทางการเกษตรจำนวนมาก ปัญหาหนึ่งที่พบคือ การเสื่อมเสียของผลิตภัณฑ์ก่อนเวลาอันควร ซึ่งสาเหตุหลักของการเสื่อมเสียของอาหารและผลผลิตทางการเกษตรเกิดจากจุลินทรีย์  การฉายรังสีอาหารสามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่ปนเปื้อนในอาหารและผลผลิตทางการเกษตรได้ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการถนอมอาหาร ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ลดการสูญเสีย และสามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้  แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจในความปลอดภัยของอาหารฉายรังสี เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการฉายรังสีอาหาร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดำเนินการร่วมกันเพื่อสร้างเครือข่ายในการสร้างความรู้ความเข้าใจ และการวิจัยด้านความปลอดภัยการฉายรังสีกับอาหารและผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนการบริการวิชาการที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการฉายรังสี เพื่อสร้างความมั่นใจและการยอมรับของผู้บริโภคต่ออาหารฉายรังสี นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นทางเลือกสำหรับการยืดอายุอาหารและผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะเพื่อการส่งออก 

เครือข่ายความปลอดภัยการฉายรังสี

เครือข่ายความปลอดภัยการฉายรังสี

Prev Next