

ผศ.ดร.ตวงสิริ สยมภาค หัวหน้าโครงการสร้างผู้ทดสอบสอบไอศกรีมที่ผ่านการฝึกฝน ส่งมอบคู่มือแก่ บริษัท อเมริกันฟูดส์ จำกัด
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ตวงสิริ สยมภาค หัวหน้าโครงการสร้างผู้ทดสอบไอศกรีมที่ผ่านการฝึกฝน ภายใต้โครงการแพลตฟอร์มบริหารจัดการทรัพยากรผู้มีศักยภาพของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเพื่อปฏิรูประบบการพัฒนากำลังคน ของประเทศ (Talent Resource Management : TRM) ประจำปีงบประมาณ 2564 ได้ส่งมอบคู่มือการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสของไอศกรีมแก่ คุณนวนิษฐ์ นิธิเอกอัครศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อเมริกันฟูดส์ จำกัด และมอบเกียรติบัตรให้กับพนักงานบริษัทที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อการเป็นผู้ประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสไอศกรีมที่ผ่าน การฝึกฝน (Trained panels) และผ่านการทดสอบในช่


บุคลากรคณะวิทย์ร่วมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิคัดสรรสุดยอด OTOP ปี 2565 (OTOP PRODUCT CHAMPION : OPC)
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมทบ สันติเบ็ญจกุล และอาจารย์ภานุมาศ บุญผดุง อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เข้าร่วมเป็นคณะทำงานพิจารณา ตรวจสอบและกลั่นกรองผลิตภัณฑ์ที่สมัครและเข้าคัดสรรฯ ประเภทอาหารและเครื่องดื่มในงานคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย พ.ศ.



อาจารย์สาขานวัตกรรมเพื่อสุขภาพและความงามได้รับรางวัลในงานแข่งขันสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมราชมงคล ครั้งที่ 4
ดร.อนงค์นาฏ โสภณางกูร และ อ.พัชนี บุญธกานนท์ อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมเพื่อสุขภาพและความงาม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับรางวัล เหรียญเงินจากผลงาน"เค้กข้าวก่ำ" และเหรียญทองแดงจากผลงาน"กัมมี่ข้าวก่ำ" ในงานแข่งขันสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมราชมงคลครั้งที่ 4 กลุ่มนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหาร ระหว่างวันที่ 18-20 พค.65 ณ รอยัลคลิฟแกรนด์โฮเต็ล จ.ชลบุรี ผลผลิตจากแผนงานวิจัย "การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวก่ำบางพระเพื่อการแปรรูปอาหารสุขภาพและเวชสำอางสู่ตลาดเออีซี



คณาจารย์สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศฯ เป็นผู้แทนมอบทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษา
เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2565 อาจารย์พงศ์พัฒน์ สิงห์ศรีและคณาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้แทนมอบทุนการศึกษาจาก คุณพยุงศักดิ์ สว่างการ ผู้จัดการโครงการ บริษัท เคอรี่ ฟลาวมิลล์ จำกัด ให้แก่นักศึกษาที่มีผลการเรียนดี จำนวน 2 ราย ได้แก่ นายสุพศิน เหรียญทองไทย และ นายศิวศิษฏ์ วงศาสนธ์



ผู้แทนจากบริษัท บูรพาพรอสเพอร์ จำกัด มอบทุนการศึกษาแก่นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 คุณธีราพร สายเคน ผู้แทนจากบริษัท บูรพา พรอสเพอร์ จำกัด เข้าพบ รศ.ดร.สุธัญญา พรหมสมบูรณ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อมอบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ที่มีผลการเรียนและร่วมกิจกรรมดีเด่น จำนวน 2 ราย ได้แก่ นางสาวสุริยาพร สงจิ๋ว และนางสาวเกษราภรณ์ คำด้วง



รศ.ดร.สุธัญญา พรหมสมบูรณ์ เข้ารับเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติ ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2564



ผู้จัดการสหกรณ์โคนมบ้านบึง และคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมประชุมหารือแนวทางการพัฒนาผลิตน้ำนมและการวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่
เมื่อวันจันทร์ที่ 11 เมษายน 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.สุธัญญา พรหมสมบูรณ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก พร้อมด้วยอาจารย์เกษมสุข เขียวทอง อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการให้การต้อนรับผู้จัดการสหกรณ์โคนมบ้านบึง และร่วมประชุมหารือแนวทางการพัฒนาผลิตน้ำนมและการวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ ณ ห้องประชุม SC103 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี



ศูนย์บริการวิชาการและนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดโครงการอบรมการใช้โปรแกรม SAS เบื้องต้นเพื่อการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา อาจารย์พัชนี บุญธกานนท์ หัวหน้าศูนย์บริการวิชาการและนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ปราโมทย์ พรสุริยา อาจารย์อมรรัตน์ โมราราช และอาจารย์จินตนา เพชรมณีโชติ ได้จัดโครงการอบรมการใช้โปรแกรม SAS เบื้องต้นเพื่อการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ SC201 ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก แก่บุคคลทั่วไป เพื่อให้บริการอบรม การใช้โปรแกรม SAS เบื้องต้นเพื่อการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ ได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับอาชีพปัจจุบัน



เครื่องมือ ครุภัณฑ์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มีอาคารที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนจำนวน 4 อาคาร ประกอบด้วย อาคารอุตสาหกรรมเกษตร อาคารแปรูป 1 อาคารแปรูป 2 อาคารแปรูป 3 นอกจากนี้ยังมี โรงงานต้นแบบแปรรูปน้ำดื่มมาตรฐาน GMP อีกด้วย
ซึ่งประกอบไปด้วย อาทิ เช่น สำนักงาน ห้องพักอาจารย์ ห้องปฏิบัติการด้านเนื้อ นม ผักและผลไม้ ประสาทสัมผัส และห้องปฏิบัติการวิจัยขั้นสูง ที่ใช้ในการเรียนการสอน วิจัย และให้บริการวิชาการ ดังนี้